ที่มาของคำราชาศัพท์ที่ใช้ในปัจจุบัน

แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ในทางสังคมและประวัติศาสตร์ และในทางภาษา
          2.2.1 ในทางสังคมและประวัติศาสตร์
อาจกล่าวได้ว่าราชาศัพท์ที่ใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน และพระราชวงศ์มีวิวัฒนาการมาแต่โบราณ ทั้งนี้เพราะประเทศไทยมีพระเจ้าแผ่นดินเป็นพระประมุขของชาติตลอดมาหลายร้อยปีแล้ว ตั้งแต่กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
หลักฐานทางประวัติศาสตร์รวมทั้งวรรณคดีในแต่ละยุคสมัยชี้ชัดว่า ชนชาติไทยมีศรัทธามั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์ มีความผูกพันแน่นแฟ้นอยู่กับพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์กล่าวได้ว่า พระเจ้าแผ่นดินดำรงอยู่ในฐานะอันสูงเป็นที่เคารพสักการะก่อนที่ได้ตราไว้เป็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475 เป็นเวลาช้านาน เมื่อความรู้สึกและค่านิยมของคนไทยที่มีต่อพระเจ้าแผ่นดินเป็นเช่นที่กล่าว คนไทยย่อมจะต้องยกย่องเทิดทูนพระเจ้าแผ่ดินของตนไว้ในทุกๆด้าน เฉพาะคำที่เรียกชื่อว่า พ่อขุน พระเจ้าแผ่นดิน เจ้าชีวิต พระเจ้าอยู่หัว เหล่านี้ก็แสดงถึงความเคารพอย่างสูงอยู่แล้ว ยิ่งศัพท์ในวรรณคดีที่คนไทยเรียกขานพระเจ้าแผ่นดินของตน ก็ล้วนแต่เป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้ง สะท้อนให้เห็นถึงความเคารพอย่างสูงทั้งสิ้น อาทิ ทรงธรรม์ ทรงเดช ภูบดี ภูเบศวร์ ท้าวไท อธิราช ฯลฯการใช้ราชาศัพท์เป็นวิธีการอันเป็นรูปธรรมอย่างหนึ่ง เพื่อถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าแผ่นดินให้สูงกว่าบุคคลอื่น และถวายพระเกียรติแด่พระราชวงศ์และขุนนางที่ทำหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณลดหลั่นลงไปตามลำดับด้วย
2.2.2 ในทางภาษา
เมื่อพิจารณาคำราชาศัพท์ทั้งปวงที่ใช้มาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน จะเห็นว่าคำราชาศัพท์ที่ใช้เรียกเครือญาติ ส่วนต่างๆของร่างกาย สิ่งของ กิริยาอาการ และกิจกรรมต่างๆของพระเจ้าแผ่นดิน และราชวงศ์ มีที่มาจากคำไทยดั้งเดิมและคำที่ไทยรับมาจากภาษาอื่น ที่สำคัญคือ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร คำที่มาจากภาษาอื่นนอกกจากสามภาษานี้มีไม่มากนัก คำศัพท์เหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วจะต้องนำมาตกแต่งเสียใหม่ จึงจะสำเร็จรูปเป็นคำราชาศัพท์โดยสมบูรณ์ ใช้สื่อสารไดตามขนบนิยม คำที่ไม่ต้องตกแต่งใหม่แต่ใช้ได้เลยทันที มีไม่มากนักและไม่ใช่คำไทยดั้งเดิม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมายของคำราชาศัพท์