ปัญหาการใช้คำราชาศัพท์ผิดพลาด


1) การเข้าใจผิดว่า ถ้าเป็นคำกริยาราชาศัพท์ต้องมีคำว่า ทรงนำหน้า ทำให้ใช้กันอย่างผิดๆว่า ทรงเสด็จ ทรงตรัส ทรงเสวย ทรงพระราชทาน ฯลฯ ถ้านักเรียนใช้ความคิดไตร่ตรองก็จะพบว่า เสด็จ ประชวร ตรัส เสวย พระราชทาน ฯลฯ เป็นคำกริยาราชาศัพท์อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใช้คำว่า ทรงนำหน้าแต่ประการใด
2.) คำว่า ทรงควรใช้เติมลงข้างหน้าคำกริยาสามัญ เพื่อให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงยินดี ทรงวิ่ง ทรงหมั้น ทรงทราบ นอกจากนี้ อาจใช้เติมลงข้างหน้าคำนาม ทั้งคำนามสามัญ และคำนามราชาศัพท์ เพื่อให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรง + ดนตรี(นามสามัญเป็น ทรงดนตรี(กริยาราชาศัพท์หมายถึง เล่นดนตรี(กลายเป็นคำกริยา แสดงกริยาการเล่น) ,ทรง + ช้าง (นามสามัญหมายถึงสัตว์ชนิดหนึ่ง แต่เมื่อเติมทรงเป็น ทรงช้าง(กริยาราชาศัพท์หมายถึง ขี่ช้าง
3) ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้คำกริยาราชาศัพท์บางคำที่สามารถเปลี่ยนเป็นนามราชาศัพท์ โดยการเติมคำว่า พระข้างหน้า เช่น คำว่า ประชวร สรวล สามารถเปลี่ยนเป็นนามราชาศัพท์ว่า พระประชวร พระสรวล คำราชาศัพท์ลักษณะนี้ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เท่านั้น ถ้าเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จพระสังฆราช พระองค์เจ้า จะต้องใช้ว่า ประชวร” “สรวลโดยไม่ต้องเติมคำว่า ทรงข้างหน้า


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมายของคำราชาศัพท์